นางแบบ นักร้อง พรีเซนเตอร์ชาวไทย และทูตองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก – มารีญา พูลเลิศลาภ กำลังได้รับการวิจารณ์เป็นอย่างหนัก เนื่องจากคอมเมนท์ที่เธอโพสต์บนรูปของ แอน แอนชิลี สก๊อต-เคมมิส มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ปี 2021 ซึ่งในรูปนั้นแอนกำลังถือกระเป๋าที่ทำมาจากหนังสัตว์
แอน แอนชิลี สก๊อต-เคมมิส ได้อัพโหลดรูปภาพของเธอเองที่กำลังถือกระเป๋าหนังสัตว์บนอินสตาแกรม ซึ่งมารีญาได้คอมเมนท์ว่า:
คอมเมนท์ของมารีญานั้นได้รับการกดไลค์มากกว่า 7,000 ครั้งและการตอบกลับถึง 1,300 ครั้งซึ่งมาจากทั้งผู้คนที่เป็นกำลังใจให้เธอ และจากผู้คนที่กล่าวว่าตำหนิที่เธอแสดงความเห็นออกมา อย่างไรก็ตามทางแอนชิลี สก๊อต-เคมมิสยังไม่ได้มีการตอบกลับความคิดเห็นนี้
ซึ่งไม่กี่ชั่วโมงถัดมาหลังจากนั้นมารีญาก็ได้โพสต์วิดีโอบนอินสตาแกรมของเธอเกี่ยวกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นและได้กล่าวว่า:
“แค่เพียงเพราะว่ามันเป็นสิ่งที่พวกเราทำมาเป็นระยะเวลานาน มันไม่ได้แปลว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกต้อง”
เอเมน! 🙌🙌🙌
ด้วยยอดผู้ติดตามมากกว่าเจ็ดแสนสามหมื่นสองพันคน มารีญากำลังใช้พื้นที่และเสียงของเธอในการแสดงความเห็นเกี่ยวกับโลกของเราและความเป็นอยู่ของสัตว์
สิ่งที่เธอทำนั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่การแสดงให้เห็นถึงความรุนแรงและผลกระทบจากการใช้ประโยชน์จากสัตว์ที่มีโทษต่อโลกของเรา แต่ยังถือว่าเป็นการเริ่มต้นบทสนทนาที่นำคนเป็นพันๆมามีส่วนร่วมได้อย่างประสบความสำเร็จ
เดือนที่แล้วมารีญาได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในวิดีโอแคมเปญ “Change for Chickens” ขององค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก เพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการทารุณสัตว์ในอุตสาหกรรมฟาร์ม
การเคลื่อนไหวที่สำคัญแบบนี้นั้นไม่ได้มีให้เห็นได้บ่อยๆบนโซเชียลมีเดียในประเทศไทย และพวกเราหวังว่าคนที่มีชื่อเสียงในเมืองไทยท่านอื่นๆจะเดินทางตามร้อยเท้าของมารีญาและแสดงออกความคิดเห็นในเรื่องที่สำคัญ
ร่วมกันเข้าไปเป็นกำลังใจให้มารีญาได้ในคอมเมนท์ของโพสต์ต้นทางบนอินสตาแกรมของ @Annescottkemmis และอีกช่องทางที่วิดีโอของมารีญาบนอินสตาแกรมของเธอ (@marialynnehren)
แล้วหนังสัตว์มันเกี่ยวอะไรกับการตัดไม้ทำลายป่า?
Image source: ISTO
ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าเรากำลังสูญเสียหรือกำลังทำให้ที่ดินเสื่อมโทรมมากกว่า 160,000 เอเคอร์ (404,685 ไร่) ทุกวันเนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่า
การปศุสัตว์นั้นมีส่วนที่ต้องรับผิดชอบต่อการทำลายล้างของป่าแอมะซอนถึง 91%
ป่าฝนมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้โลกของเราให้มีสุขภาพดีสมบูรณ์ โดยการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และปล่อยออกซิเจนที่เราจำเป็นต้องใช้เพื่อความอยู่รอด ซึ่งการดูดซับ CO2 นี้ยังช่วยรักษาระดับของสภาพอากาศของโลกให้คงที่
การที่หนังสัตว์จะกลายมาเป็นกระเป๋าหนึ่งใบได้นั้น มีหลายอย่างที่จำเป็นต้องเกิดขึ้นก่อน
1. สัตว์ที่เกิดมาเพื่อเป็นหนังต้องการสถานที่สำหรับเลี้ยง (โรงเลี้ยงสัตว์หรือทุ่งกว้าง) = ต้องใช้พื้นที่โล่งซึ่งทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า
2. สัตว์เหล่านี้จำเป็นต้องมีชีวิตอยู่และต้องการอาหารจำนวนมากในแต่ละวัน = ต้องใช้ดินและน้ำเพื่อปลูกอาหารเพื่อเลี้ยงสัตว์และคาร์บอนในการขนส่งอาหารสัตว์เหล่านั้น
3. สัตว์เหล่านี้จะต้องมีชีวิตอยู่นานพอที่จะเติบโตเต็มขนาด ในช่วงเวลาที่สัตว์ตัวนี้ยังมีชีวิตอยู่ มันจะผลิตก๊าซมีเทนผ่านการผายลม (มีเทนมีศักยภาพมากกว่าคาร์บอน 80 เท่า) = ซึ่งหมายความว่ามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากทุกวันที่สัตว์เหล่านี้มีชีวิตอยู่
4. หลังจากที่สัตว์เหล่านี้ถูกฆ่าและเอาผิวหนังออกแล้ว กระบวนการทางเคมี เช่น การฟอกหนัง จำเป็นต้องเกิดขึ้นเพื่อให้มันกลายเป็นหนังที่สามารถใช้งานได้ สารเคมีที่ใช้ทำสีแทนนั้นไม่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ อีกทั้งยังเป็นอันตรายมากต่อน้ำ และยังปนเปื้อนชุมชนท้องถิ่นที่สัมผัสกับมัน = การปนเปื้อนของน้ำและมลพิษทางน้ำ
ทีนี้ลองนึกภาพทั้งหมดนี้ในขนาดใหญ่มากๆ (สัตว์ประมาณ 1 พันล้านตัวถูกฆ่าตายในอุตสาหกรรมเครื่องหนังทุกๆปี ทั่วโลก ซึ่งเป็นตัวเลขขนาดใหญ่ที่มักไม่ค่อยมีการรายงาน) มันคงจะง่ายขึ้นที่จะทำการเข้าใจประเด็นที่มารีญาได้พูดถึง