The Downwards Trend of Eating Meat
ในช่วงระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา เกิดการลดลงอย่างมีนัยสำคัญของการบริโภคเนื้อสัตว์ในประเทศเยอรมันนีถึง 18% ต่อจำนวนประชากรจาก 63.3 กก. ในปี 1991 เป็น 51.7 กก. ในปี 2022 แนวโน้มการลดลงนี้ถูกขับเคลื่อนโดยการเติบโตขึ้นของการรับรู้ในเชิงสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความกังวลด้านจริยธรรมเกี่ยวกับการผลิตเนื้อสัตว์ รวมทั้งความเป็นที่นิยมที่สูงขึ้นของอาหารแบบแพลนต์เบส
การลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจนที่สุดคือการบริโภคเนื้อหมู ซึ่งลดลงถึง 22% ในะรหว่างปี 1991 ถึง ปี 2021 ในขณะเดียวกัน ตลาดของทางเลือกแบบแพลนต์เบสก็เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ยอดขายของผลิตภัณฑ์วีแกนและมังสวิรัติสูงขึ้นถึง 39% ในระหว่างปี 2018 ถึง ปี 2020
การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคนั้นมีส่วนช่วยในด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการลดลงของการบริโภคเนื้อสัตว์ช่วยลดปัญหามลภาวะทางอากาศและช่วยฟื้นฟูมหาสมุทร การเปลี่ยนแปลงนี้ยังมีผลกระทบเชิงบวกในด้านสาธารณสุขอีกด้วย จากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความเชื่อมโยงการบริโภคเนื้อสัตว์ในปริมาณสูงกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นของการเกิดโรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคเรื้อรังต่างๆ
เนื่องจากอาหารแพลนต์เบสกำลังเป็นที่นิยมในประเทศเยอรมันนีอย่างต่อเนื่อง ประชากรได้มีโอกาสในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและมีเมตตามากขึ้น
“การลดการบริโภคเนื้อสัตว์ไม่เพียงแต่ดีต่อสิ่งอวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเป็นการนำไปสู่วิถีชีวิตที่มีสุขภาพที่ดีมากขึ้นอีกด้วย... เราหวังว่าเราสามารถเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คนมากขึ้นในการเปลี่ยนมาทานอาหารแพลนต์เบส”
Felix Domke โฆษกมูลนิธิ Albert Schweitzer กล่าว
การลดลงถึง 18% ของการบริโภคเนื้อสัวต์ในประเทศเยอรมันนีในระยะเวลาสามสิบปีที่ผ่านมาสามารถเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ผู้คนหรือประเทศต่างๆทั่วโลกในการเปิดรับทางเลือกอาหารที่ยั่งยืนและมีหลักจริยธรรมที่ดีได้ ด้วยการลดการบริโภคเนื้อสัตว์และเพิ่มการบริโภคอาหารแพลนต์เบสในมื้ออาหาร เราสามารถสร้างอนาคตที่มีสุขภาพที่ดีกว่า มีเมตตามากกว่า และยั่งยืนมากกว่า ต่อทุกๆชีวิตบนโลกใบนี้!