ครั้งแรกที่ข่าวเกี่ยวกับไวรัสโคโรน่ามีให้เห็นทั่วไปทุกหน้าจอ หลายคนเริ่มลังเลที่จะนำบรรจุภัณฑ์ แก้วกาแฟ และถุงใส่สินค้ามาใช้ใหม่เนื่องจากกลัวการแพร่กระจายของไวรัส
ในปีพ.ศ. 2561 หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์รายงานว่าโดยเฉลี่ยแล้วคนไทยใช้ถุงพลาสติก 8 ชิ้นต่อวัน โดยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 คนไทยลดการใช้ถุงพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งอย่างเห็นได้ชัด และหันมาใช้ถุงแบบนำกลับมาใช้ใหม่แทน ทั้งนี้ ร้านค้าปลีกกว่า 75 ร้านรับปากว่าจะหยุดแจกจ่ายถุงพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการหยุดใช้ถุงพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งดังกล่าว โดยกระแสนี้เพิ่งมีขึ้น 2-3 เดือนก่อนที่ไวรัสโควิด-19 จะประกาศให้เป็นภาวะการระบาดใหญ่ทั่วโลก
เมื่อข้ามไปยังโลกแห่งไวรัสโควิด-19 สถาบันนโยบายสาธารณะและการพัฒนาได้จัดทำโพลล์ขึ้นและพบว่ากว่า 62% ของประชากรไทยมองว่าการใช้ถุงพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งเป็นสิ่งสำคัญ
เมื่อมีหลักฐานพิสูจน์ว่าการนำสิ่งของกลับมาใช้ใหม่จะก่อให้เกิดอันตรายใดมากไปกว่าการใช้พลาสติกอันน้อยนิด คาเฟ่และร้านค้าทั้งหลาย อย่างเช่นเซเว่นอีเลฟเว่นและสตาร์บัคส์ต่างตัดสินใจหยุดใช้แก้วและบรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ในร้านของตนเพื่อความปลอดภัยจากไวรัส
“ตั้งแต่ช่วงวันแรกๆ ของภาวะการระบาดใหญ่ทั่วโลกนี้ อุตสาหกรรมพลาสติกต่างทำงานกันอย่างแข็งขันกันเพื่อส่งเสริมการใช้พลาสติกซึ่งใช้แล้วทิ้งเมื่อไม่จำเป็นและทำให้คนทั่วไปหวาดกลัวการใช้ถุงและสิ่งของที่นำกลับมาใช้ใหม่” นาย John Hocevar ประธานการรณรงค์ปกป้องมหาสมุทร องค์กรีนพีซในสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวไว้
อย่างไรก็ดี ในอาทิตย์ที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์กว่า 100 ชีวิตจากทั่วทุกมุมโลกได้ลงชื่อในเอกสารซึ่งระบุว่าการใช้แก้ว ถุง บรรจุภัณฑ์ และระบบการนำสิ่งของมาใช้ใหม่นั้นสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยหากมีการรักษาความสะอาดพื้นฐาน
นักไวรัสวิทยา นักวิทยาการระบาด แพทย์ประจำห้องฉุกเฉิน และผู้เชี่ยวชาญในสายสุขภาพและด้านความปลอดภัยของบรรจุภัณฑ์อาหารต่างอยู่ในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญกว่า 115 ชีวิตที่ลงชื่อในเอกสารดังกล่าว
“สำหรับการโต้ตอบของสาธารณชนต่อวิกฤติไวรัสโควิด เราจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงทุกวิถีทางในการใช้พลาสติกที่ใช้แล้วทิ้งจนเกินไป โดยเฉพาะพลาสติกที่ใช้ในการห่อหุ้มผลิตภัณฑ์” กล่าวโดยนาย Charlotte Williams ศาสตราจารย์ภาควิชาเคมีมหาวิทยาลัย Oxford
ดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้นหมายความว่าร้านคาเฟ่ ร้านค้า และร้านอาหารทุกร้านจะต้องกลับมาใช้สิ่งที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้หรือไม่นั้น เราก็หวังให้เป็นเช่นนั้น
ผู้ติดเชื้อจากไวรัสโคโรน่าทั่วโลกถึง 10 ล้านคนแล้ว อันเป็นสิ่งที่ชัดเจนว่าไวรัสนี้จะไม่หายไปจากโลกเราเร็วๆ นี้ โดยเราจะต้องกลับมาคิดถึงเรื่องการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมของเรา ในขณะที่เราปรับตัวให้เข้ากับฐานวิถีชีวิตแบบใหม่นี้ด้วย
“สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งคือเราจะต้องไม่ปล่อยให้ผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ซึ่งเกิดขึ้นกับสุขภาพมนุษย์เป็นข้ออ้างในการทำลายสุขภาพของโลกเราไปมากกว่านี้”
“เมื่อวิถีชีวิตแบบเดิมของเรากลับอีก เราจะต้องให้เวลาและพื้นที่ในการปกป้องและบำรุงรักษาสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นเพื่อสุขภาพที่ดีของพวกเราทุกคน” ดอกเตอร์ Jennifer Cole จากมหาวิทยาลัย Royal Hallaway ได้กล่าวไว้