นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร จากมหาวิยาลัยนันยาง หรือ Nanyang Technological University, Singapore (NTU Singapore) ได้พลาสเตอร์เจลชนิดฆ่าเชื้อ จากเปลือกทุเรียนที่ถูกทิ้ง
โดยทำการสกัดเซลลูโลสคุณภาพสูงจากเปลือกทุเรียน มาผสมผสานกับกลีเซอรอล ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมการผลิตไบโอดีเซล และสบู่ และสิ่งเหล่านี้เมื่อมารวมกัน ก็จะได้เกิดเจลชนิดนิ่มขึ้น คล้ายกับแผ่นซิลิโคน ซึ่งสามารถนำมาตัดเป็นพลาสเตอร์ปิดแผลได้หลากหลายรูปและขนาด
แถมยังมีการเพิ่มโมเลกุลออแกนิคที่ผลิตจากยีสต์ธรรมชาติ ซึ่งธรรมให้พลาสเตอร์ปิดแผลตัวนี้ สามารถฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
“การที่เรานำวัตถุดิบที่กำลังถูกทิ้งในปริมาณมากมาใช้ประโยชน์ อย่างเช่นเปลือกทุเรียนและกลีเซอรอลนี้ เราจะสามารถเปลี่ยนขยะมาเป็นทรัพยากรในเชิงวิทยาศาสตร์ชีวะการแพทย์ ที่สามารถช่วยในการสมานแผลได้อย่างรวดเร็วขึ้น และลดโอกาสในการติดเชื้อของแผลอีกด้วย”
“ด้วยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากเชื้อโรคที่เริ่มมีภูมิต้านยาปฏิชีวนะ โลกเราก็จะต้องมีความต้องการตัวเลือกที่เพิ่มขึ้น ในการช่วยป้องกันการติดเชื้อต่างๆ และการปกป้องแผลที่มีประสิทธิภาพ ก็คือการใช้พลาสเตอร์ปิดแผลที่มีจุลินทรีย์ที่มีความเข้ากันได้ทางชีวภาพ และปลอดภัยสำหรับการใช้ในระยะยาวสำหรับมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากๆสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีแผลรักษาหายยากกว่าปกติ” อาจารย์ เฉิน ได้อธิบายไว้ ซึ่งท่านเป็นกรรมการอาจารย์สำหรับ Michael Fam ของคณะวิทยาศาสตร์อาหารและเทคโนโลยี ที่วิทยาลัยเคมีและวิศวกรรมชีวะการแพทย์
ทีมวิจัยทั้งสี่ท่าน จาก NTU ใช้เวลาร่วมสองปีในการวิจัยและค้นคว้า ก่อนที่จะเผยแพร่ข้อมูล และตอนนี้เขาก็กำลังมองหาผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการนำผลิตและจำหน่ายพลาสเตอร์ชนิดนี้ให้กับผู้ที่ต้องการใช้