การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวดเร็ว รุนแรง และในบางแห่งนั้นไม่สามารถย้อนกลับคืนมาได้
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา IPCC ได้เผยแพร่รายงานล่าสุดเกี่ยวกับเครื่องบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สำคัญ เป็นคำเตือนที่รุนแรง แจ่มชัด และน่ากลัวเกี่ยวกับความจริงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เวลาของเราใกล้หมดลงแล้ว
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อนกำลังเกิดขึ้นเร็วกว่าที่เคยคาดไว้มาก เราต้องลงมือจัดการเดี๋ยวนี้ หรือไม่ก็บอกลาโลกแบบที่เคยรู้จักตลอดกาล
รายงานฉบับนี้เป็น “สัญญาณเตือนภัยฉุกเฉินสำหรับมนุษยชาติ” – อันโตนิโอ กูเตอร์เรส – General of the United Nations
‘Changing’ by artist Alisa Singer
IPCC คือใคร
IPCC (คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) เป็นหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ IPCC ถูกตั้งขึ้นเพื่อให้ข้อมูลการประเมินทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหมาย และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตแก่รัฐบาลและผู้กำหนดนโยบาย
รายงานครั้งแรกในรอบ 8 ปี – หลายอย่างอาจเปลี่ยนแปลงไปใน 8 ปี
ทุก ๆ เจ็ดปีโดยประมาณ IPCC จะเผยแพร่รายงานที่แสดงให้เราเห็น “สถานะสภาพภูมิอากาศ” เป็นสำคัญ รายงานฉบับใหม่นี้เป็นรายงานที่ใหญ่ที่สุดในโลกเท่าที่เคยมีมาที่รายงานถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นักวิทยาศาสตร์ 234 คนจากทั่วโลกอ่านบทความวิจัยมากกว่า 14,000 ฉบับเพื่อเขียนรายงานนี้ โดยสรุปผลงานวิจัยล่าสุดที่ได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับศาสตร์แห่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลกระทบ และแนวทางในการปรับตัวและบรรเทาปัญหาดังกล่าว
รายงานเรื่องอะไร?
รายงาน IPCC เป็นคำเตือนที่น่าสะพรึงกลัวซึ่งแสดงถึงสภาพอากาศสุดขั้วที่กำลังก่อตัวขึ้น และความเป็นไปได้ที่สภาพการณ์จะเลวร้ายขึ้น อีกทั้งภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้
รายงานระบุว่าการกระทำของมนุษย์มีส่วนรับผิดชอบต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อนอย่างชัดเจน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับภูมิอากาศบางลักษณะในตอนนี้ไม่สามารถแก้ไขย้อนกลับคืนมาได้และจะคงอยู่อีกนานหลายร้อยปี หรืออีกหลายพันปีข้างหน้า
รายงานระบุว่ากลยุทธ์ที่เสนอในข้อตกลงปารีสนั้นยังไม่พอ ทั่วโลกยังไม่ได้เฉียดใกล้แม้เกณฑ์เบื้องต้นของการควบคุมการปล่อยมลพิษเลยและนั่นคือความล้มเหลว เราจำเป็นต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงครึ่งหนึ่งทันทีเพื่อจำกัดความร้อนไว้ที่ 1.5C ให้ได้ (1.5C หรือ 1.5 องศาเซลเซียส คือ ‘หายนะ’)
“การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ส่งผลกระทบต่อทุกภูมิภาคบนโลกแล้วในหลายๆ ด้าน การเปลี่ยนแปลงที่เราพบจะเพิ่มขึ้นอีกเมื่อโลกร้อนมากขึ้น” ประธานร่วมคณะทำงาน IPCC ผานเหมา ไจ่ กล่าว
แต่นี่ไม่ใช่แค่เรื่องอุณหภูมิเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในภูมิภาคต่างๆ – ซึ่งทั้งหมดนี้จะเพิ่มมากขึ้นตามภาวะโลกที่ร้อนขึ้น (การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างจะขยายออกไปในเมืองและเขตเมือง) สิ่งเหล่านี้รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของความชื้นและความแห้งแล้ง ลม หิมะและน้ำแข็ง พื้นที่ชายฝั่งทะเล และมหาสมุทร ตัวอย่างเช่น:
- ฝนตกหนักขึ้น
- น้ำท่วมหนักหน่วงขึ้น
- ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น
- ภัยแล้งรุนแรงขึ้น
- การเปลี่ยนแปลงของฝนมรสุม
- ธารน้ำแข็งละลาย แผ่นน้ำแข็ง และน้ำแข็งละลายเร็วขึ้นในฤดูร้อนของทะเลอาร์กติก
- คลื่นความร้อนจากทะเลถี่ขึ้น
- ปรากฏการณ์ทะเลกรด (การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อทั้งระบบนิเวศของมหาสมุทรและผู้คนที่พึ่งพาอาศัยมหาสมุทรนั้น)
เหตุการณ์ระดับน้ำทะเลสุดขั้วที่เคยเกิดขึ้นครั้งเดียวในรอบ 100 ปี อาจเกิดขึ้นทุกปีภายในสิ้นศตวรรษนี้
รายงานนี้สำคัญอย่างไร?
รายงานนี้ถือเป็นการเตือนสติเราทุกคน แต่ที่สำคัญที่สุด จะถูกนำมาบังคับใช้โดยหน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลกเพื่อการตัดสินใจที่สำคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
IPCC จัดทำเอกสารหลายพันฉบับในรูปแบบคู่มือการศึกษา (CliffsNotes) ตีพิมพ์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ความเสี่ยง และองค์ประกอบทางสังคมและเศรษฐกิจของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแก่รัฐบาล
ประเด็นสำคัญ
- การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศแพร่กระจาย รวดเร็ว และรุนแรงขึ้น อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในหลายพันปีที่ผ่านมา
- การเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่เกิดขึ้นแล้วจะแก้ไขย้อนกลับคืนไม่ได้ อย่างไรก็ตาม บางชนิดสามารถชะลอ และบางส่วนสามารถหยุดได้ด้วยการจำกัดภาวะโลกร้อน
- การกระทำของมนุษย์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างไม่อาจโต้แย้ง ทำให้เกิดคลื่นความร้อน ฝนตกหนักและภัยแล้ง เกิดบ่อยขึ้นและรุนแรงขึ้น
- การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ส่งผลกระทบต่อหลายภูมิภาคแล้วในหลาย ๆ ด้าน การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นอีกตามสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นเรื่อย ๆ
- เว้นแต่จะมีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทันทีและในวงกว้าง มิเช่นนั้นการจำกัดภาวะโลกร้อนไว้ที่ 1.5c แทบจะไกลเกินเอื้อม
Extreme sea-level events that previously occurred once in 100 years could happen every year by the end of this century.
เราต้องให้ความสำคัญกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ
เมื่อเราก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 ของการระบาดใหญ่ของโคโรนาไวรัสในอีกไม่ช้า ชัดเจนแล้วว่าโควิดจะไม่ไปไหน การระบาดใหญ่ของโคโรนาไวรัสนั้นน่ากลัว เร่งด่วน และต้องรีบจัดการ แต่หากเรามุ่งความสนใจทั้งหมดไปกับเรื่องโรคระบาดเพียงอย่างเดียว เราจะมองข้ามวิกฤตสภาพภูมิอากาศรวมถึงมหันตภัยแท้จริงของมวลมนุษยชาติ ซึ่งจะคร่าชีวิตผู้คนมากกว่าโควิด-19 เสียอีก เราไม่สามารถปล่อยวิกฤตสภาพภูมิอากาศและอนาคตของโลกของเราไว้เบื้องหลังในขณะที่เรามุ่งแต่จะจัดการกับโคโรนาไวรัส ทุก ๆวันที่เราปล่อยผ่านไป การเปลี่ยนแปลงที่ย้อนกลับคืนไม่ได้จะเกิดเพิ่มมากขึ้น
รายงานนี้บอกเราว่าภัยพิบัติระดับโลกกำลังจะมาถึง ความรุนแรงของมันขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราทำตอนนี้
เราเห็นปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นแล้วในวันนี้
ปีนี้เป็นปีที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ล่าสุดในเรื่องภัยพิบัติจากสภาพภูมิอากาศและหายนะของสภาพอากาศ
Source: The Independant
เปิดดูข่าววันนี้แล้วคุณจะเห็น:
- ไฟป่าโหมกระหน่ำทั่วยุโรปและอเมริกาเหนือ เนื่องจากอุณหภูมิที่แผดเผาและสภาพอากาศที่แห้งแล้งเป็นเชื้อชั้นดีให้กับเปลวเพลิงที่คร่าชีวิตผู้คนและทำลายที่ทำกิน
- ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นจากอุทกภัยร้ายแรงในเยอรมนีและเบลเยียม
- ภัยพิบัติน้ำท่วมและพายุไต้ฝุ่นในจีน
- พายุไซโคลนกำลังแรงในอินเดียเหนือ
พวกเราทำอะไรได้บ้าง?
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดหลายอย่างที่เราต้องจับตาจะมาจากรัฐบาลกลางทั่วโลก สิ่งนี้สามารถทำให้เรารู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญไม่ได้อยู่ในมือของเรา แต่เรากุมพลังมหาศาลไว้ในมือได้จากการเลือกอาหาร – ง่าย ๆ แค่นี้
หากการเปลี่ยนไปรับประทานอาหารที่มีพืชเป็นส่วนประกอบหลัก (แพลนต์เบส) เป็น “การกระทำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเพียงอย่างเดียวที่เราสามารถทำได้เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม” แล้วทำไมเราทุกคนถึงจะไม่พร้อมใจกันทำล่ะ?
สิ่งที่เราทานเป็นอาหารมื้อเช้าและมื้อเย็นของเราอาจดูเหมือนไม่ได้เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติสภาพอากาศที่รุนแรงและการพังทลายของสภาพภูมิอากาศของโลกเลย แต่การเปลี่ยนมารับประทานอาหารที่เน้นพืชเป็นหลัก (แพลนต์เบส) นั้นยิ่งใหญ่ที่สุดที่เรามีอำนาจในมือที่จะเปลี่ยนแปลงได้เอง และเราไม่จำเป็นต้องรอให้กฎหมายของรัฐบาลผ่านก่อนแล้วค่อยมาเปลี่ยน เราสามารถทำได้วันนี้
Credit: KristofferTigue/InsideClimate News
เราไม่ได้พูดถึงคนที่ไม่ได้ตั้งใจที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เรากำลังพูดถึงผู้อื่น ผู้ที่มีทางเลือกในการเลือกซื้อเนื้อแพลนต์เบสแทนที่จะเป็นเนื้อสัตว์ในซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือแม้แต่ผู้ที่ไม่สามารถซื้อเนื้อแพลนต์เบสได้ แต่สามารถซื้ออาหารที่มาจากพืชธรรมชาติได้ เช่น ข้าวและถั่ว
หนึ่งมื้อต่อสัปดาห์นั้นยังไม่พอ หนึ่งมื้อต่อวันยังน้อยเกินไป เช่นเดียวกับที่รัฐบาลต้องใช้รายงานนี้เพื่อกำหนดนโยบายสภาพภูมิอากาศอย่างเร่งด่วน เราทุกคนต้องร่วมมือร่วมใจกันลงมือทำทุกทางให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในระดับบุคคลเช่นกัน
ทำให้การเปลี่ยนแปลงอาหารของคุณ เป็นนโยบายเร่งด่วน
เป็นความรับผิดชอบของเราที่จะทำทุกอย่างที่ทำได้และต้องทำเดี๋ยวนี้ เราไม่เหลือเวลาที่จะอ้างว่าต่อมรับรสของเราสำคัญไปกว่าอนาคตของโลกอีกต่อไป